คณะและพยางค์
บทหนึ่งมี ๒ บาท ๔ วรรค บาทที่ ๑ เรียกว่า บาทเอก บาทที่ ๒ เรียกว่า บาทโท
วรรคที่ ๑ และ ๓ มี ๕ คำ ส่วนวรรคที่ ๒ และ ๔ มี ๖ คำ ๑ บทมี ๒๒ คำ ( ๑ บาท มี ๑๑ คำ )
สัมผัส
กาพย์ยานี ๑๑ มีสัมผัสในบท ๒ แห่ง คือ
๑. คำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ สัมผัสกับคำที่ ๑ หรือ คำที่ ๒ , ๓ ของวรรคที่ ๒ ของบาทเอก
ส่วนในบาทโทนั้น ปัจจุบันมีผู้นิยมแต่งให้สัมผัสเช่นเดียวกับบาทเอก แต่มิได้ถือเป็นสัมผัสบังคับ
๒. คำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๓
สัมผัสระหว่างบท คือ คำสุดท้ายของบท สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ ในบทต่อไป
แผนผัง

ตัวอย่าง
พระเสด็จโดยแดนชล ทรงเรือต้นงามเฉิดฉาย
กิ่งแก้วแพร้วพรรณราย พายอ่อนหยับจับงามงอน
นาวาแน่นเป็นขนัด ล้วนรูปสัตว์แสนยากร
เรือริ้วทิวธงสลอน สาครลั่นครั่นครื้นฟอง
( กาพย์เห่เรือเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร )
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น