Pink Rose Flower

วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

คำไวพจน์


คำไวพจน์ คือ คำที่มีความหมายเหมือนกัน แต่มีรูปต่างกันและอาจมีที่มาจากภาษาต่างๆ
1. พระพุทธเจ้า
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า………พระสัพพัญญู……….พระโลกนาถ………..พระสุคต
พระผู้มีพระภาคเจ้า………….พระสมณโคดม……..พระศากยมุนี……….พระธรรมราช
พระชินสีห์………………………พระทศญาณ…………มารชิต…………………โลกชิต
พระทศพลญาณ……………….พระตถาคต……………พระชินวร……………ชินศรี
2. สวรรค์
ไตรทิพย์…………………………สรวง……………………ไตรทศาลัย……………สุราลัย
สุริยโลก………………………….ศิวโลก…………………..สุขาวดี…………………สุคติ
เทวโลก
3. เทวดา
เทพ……………………………….เทวินทร์………………….อมร……………………..สุรารักษ์
แมน………………………………เทว…………………………เทวัญ…………………..นิรชรา
เทวา………………………………ไตรทศ…………………….ปรวาณ…………………สุร
4. พระอิศวร
ตรีโลกนาถ…………………….บิดามห…………………….ศิวะ……………………..ศุลี
มหาเทพ………………………..ปศุบดี………………………มเหศวร……………….จันทรเศขร
ภูเตศวร………………………….ศังกร……………………….ภูเตศ……………………ทรงอินทรชฎา
5. พระพรหม
จัตุพักตร์…………..นิรทรุหิณ…………..พระทรงหงส์…………….วิธาดา
ธาดา………………..กมลาสน์…………….สรษดา……………………..สรษดา
ปรชาบดี
6. พระวิษณุ
กฤษณะ……………ไวกุณฐ์………………ไกษพ…………………มาธพ
สวภู…………………พระจักรี…………….ศางดี…………………..ไตรวิกรม
จักรปาณี…………..พระกฤษณ์…………พระนารายณ์
7. พระเจ้าแผ่นดิน
บดินทร์………..นโรดม……….นฤเบศน์……….เจ้าหล้า
ภูมินทร์……….ภูบาล………….ภูบดินทร์……….ธรารักษ์
นรินทร์……….นฤบดี………….จอมราช………..ท่านไท้ธรณี
ขัตติยวงศ์…….ธรณีศวร……..ราเชนทร์……….ท้าวธรณิศ
ไท้ธาษตรี…….ปิ่นเกล้าธาษตรี

การอ่านออกเสียงบทร้อยกรอง

1. ความหมายของบทร้อยกรอง 
บทร้อยกรอง หมายถึง ถ้อยคำที่เรียบเรียงให้เป็นระเบียบตามบัญญัติแห่งฉันทลักษณ์โดยมีกำหนดข้อบังคับต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความครึกครื้น และมีความไพเราะแตกต่างไปจากถ้อยคำธรรมดา ในการอ่านบทร้อยกรองนั้น เราเรียนกว่า “การอ่านทำนองเสนาะ”

2. ความหมายของ “การอ่านทำนองเสนาะ” 
การอ่านทำนองเสนาะคือ วิธีการอ่านออกเสียงอย่างไพเราะตามลีลาของบทร้อยกรองประเภท โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน

( พจนานุกกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 หน้า 528 )

บางคนให้ความหมายว่า การอ่านทำนองเสนาะ คือ การอ่านตามทำนอง ( ทำนอง = ระบบเสียงสูงต่ำ ซึ่งมีจังหวะสั้นยาว ) เพื่อให้เกิดความเสนาะ ( เสนาะ , น่าฟัง , เพราะ , วังเวงใจ )

3. วัตถุประสงค์ในการอ่านทำนองเสนาะ 
การอ่านทำนองเสนาะเป็นการอ่านให้คนอื่นฟัง ฉะนั้นทำนองเสนาะต้องอ่านออกเสียง เสียงทำให้เกิดความรู้สึก – ทำให้เห็นความงาม – เห็นความไพเราะ – เห็นภาพพจน์ ผู้ฟังสัมผัสด้วยเสียงจึงจะเข้าถึงรสและความงามของบทร้อยกรองที่เรียนกว่า อ่านแล้วฟังพริ้งเราะเสนาะโสต การอ่านทำนองเสนาะจึงมุ่งให้ผู้ฟังเข้าถึงรสและเห็นความงามของบทร้อยกรอง

[อ่านต่อเพิ่มเติม]

วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ร่าย


ร่าย เป็นชื่อของคำประพันธ์ ชนิดหนึ่ง ซึ่งไม่กำหนดว่า จะต้องมีบท หรือบาท เท่านั้น เท่านี้ จะแต่งให้ยาว เท่าไรก็ได้ เป็นแต่ต้อง เรียงคำ ให้คล้องจองกัน ตามข้อบังคับ เท่านั้น ลักษณะบังคับต่างๆ ใช้อย่างเดียวกับ โคลง 2 และโคลง 3

คำร่าย "ร่าย" แปลว่า อ่าน เสก หรือ เดิน
ร่าย แบ่งออกเป็น 4 ชนิด คือ

1. ร่ายสุภาพ
2. ร่ายดั้น
3. ร่ายโบราณ
4. ร่ายยาว

1. ร่ายสุภาพ


ตัวอย่าง:


2. ร่ายดั้น


ตัวอย่าง:





ตัวอย่าง:


ร่ายยาว 
การแต่งร่ายยาว ต้องรู้จัก เลือกใช้ ถอยคำ และสัมผัสใน ให้มีจังหวะ รับกันสละสลวย เมื่ออ่านแล้ว ให้เกิด ความรู้สึก มีคลื่นเสียง เป็นจังหวะๆ อย่างที่เรียกว่า "เสียงดิ้น" หรือ "เสียงมีชีวิต" และจำนวนคำ ที่ใช้ ในวรรคหนึ่ง ก็ไม่ควรให้ยาว เกินกว่าช่วง ระยะหายใจ ครั้งหนึ่งๆ คือ ควรให้อ่าน ได้ตลอดวรรค แล้วหยุดหายใจได้ โดยไม่ขาดจังหวะ ดูตัวอย่างได้ ในหนังสือ เวสสันดรชาดก

ร่ายยาวนี้ ใช้แต่งเทศน์ หรือบทสวด ที่ต้องว่า เป็นทำนอง เช่น เทศน์มหาชาติ และเทศน์ธรรมวัตร เป็นต้น เมื่อจบความ ตอนหนึ่งๆ มักลงท้ายด้วย คำว่า นั้นแล นั้นเถิด นี้แล ฉะนี้แล ด้วยประการฉะนี้ คำนั้นแล นิยมใช้เมื่อ สุดกระแสความตอนหนึ่งๆ หรือจบเรื่อง เมื่อลง นั้นแล ครั้งหนึ่ง เรียกว่า "แหล่" หนึ่ง ซึ่งเรียกย่อ มาจากคำ นั้นแล นั่นเอง เพราะเวลาทำนอง จะได้ ยินเสี ยง นั้นแล เป็น นั้นแหล่

วันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

คำพ้องรูปพ้องรูปพ้องเสียง


คำพ้องรูปและคำพ้องเสียง

คำพ้องรูป คือ คำที่เขียนเหมือนกัน แต่อ่านออกเสียงต่างกัน และมีความหมายต่างกัน
ตัวอย่าง
คำพ้องรูป
คำอ่าน
ความหมาย
แหน
แหน (หน + แ-)
      แหน (ห +  แ- + น)
ชื่อไม้ล้มลุกชนิดหนึ่ง
หวง
สระ
 สะ
สะ - หระ
แอ่งน้ำ
ตัวอักษรที่ใช้ประกอบกับพยัญชนะ
เพลา
เพลา
เพ - ลา
แกนสำหรับสอดในดุมรถ
เวลา
แขม
แขม
ขะ - แม
ไม้ล้มลุกชนิดหนึ่ง
ชาวเขมร
ปักเป้า
ปัก - เป้า
ปัก - กะ - เป้า
ว่าวชนิดหนึ่ง
ปลาชนิดหนึ่ง
แหง
แหง  (หง + แ-)
แหง (ห + แ- + ง)
อาการของหน้าที่แสดงเก้อหรือจนปัญญาหรือ  แน่  แน่นอน
คำแหง  หรือกำแหง  แข็งแรง  เข้มแข็ง
กรี
กรี
กะ - รี
กระดูกแหลมที่หัวกุ้ง
ช้าง
เสมา
สะ - เหมา
เส - มา
ต้นไม้ชนิดหนึ่ง
เครื่องหมายบอกเขตโบสถ์สำหรับทำสังฆทาน
เสลา
สะ - เหลา
เส - ลา
ต้นไม้ชนิดหนึ่ง  หรือสวย  งาม
ภูเขา
ปรัก
ปรัก
ปะ - หรัก
เงิน
หัก  พัง
พล
พลี
พะ - ลี
ขอแบ่งเอามา  เชิญเอามา
เสียสละ  บวงสรวง  บูชา
คำพ้องเสียง คือ  คำที่อ่านออกเสียงเหมือนกัน  เขียนต่างกัน  และมีความหมายต่างกัน
ตัวอย่าง
คำพ้องเสียง
คำอ่าน
ความหมาย
จัน
จันทน์
จันทร์
จรร
จัน
จัน
จัน
จัน
ผลไม้ที่สุกเหลืองหอม
ต้นไม้ที่มีเนื้อ  ดอก  และผลมีกลิ่นหอม
ดวงเดือน  ชื่อวันลำดับที่  2  ของสัปดาห์
ความประพฤติ
โจษ
โจทก์
โจทย์
โจด
โจด
โจด
เล่าลือ  กล่าวขาน
ผู้ฟ้อง  ผู้กล่าวหา
คำถามในวิชาเลข
พัน
พันธ์
พันธุ์
พรรณ
ภัณฑ์
พัน
พัน
พัน
พัน
พัน
จำนวน 10 ร้อย หรือมัดโดยรอบ เกี่ยวข้องกัน
ผูกมัด
เชื้อสาย เหล่าก่อ
สีผิว  ชนิด
สิ่งของ
สัน
สันต์
สรร
สรรค์
สัณฑ์
สัน
สัน
สัน
สัน
สัน
แนวที่สูงขึ้น
สงบ
คัด เลือก
สร้าง
ป่า

วันอังคารที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

กาพย์ยานี11


คณะและพยางค์
       บทหนึ่งมี ๒ บาท ๔ วรรค  บาทที่ ๑  เรียกว่า บาทเอก  บาทที่ ๒ เรียกว่า  บาทโท
วรรคที่ ๑ และ ๓ มี ๕ คำ  ส่วนวรรคที่ ๒ และ ๔ มี ๖ คำ ๑ บทมี ๒๒ คำ ( ๑ บาท มี ๑๑ คำ )
สัมผัส 
       กาพย์ยานี ๑๑ มีสัมผัสในบท  ๒ แห่ง  คือ
       ๑. คำสุดท้ายของวรรคที่ ๑  สัมผัสกับคำที่ ๑  หรือ  คำที่ ๒ , ๓ ของวรรคที่ ๒ ของบาทเอก
ส่วนในบาทโทนั้น  ปัจจุบันมีผู้นิยมแต่งให้สัมผัสเช่นเดียวกับบาทเอก  แต่มิได้ถือเป็นสัมผัสบังคับ
      ๒. คำสุดท้ายของวรรคที่ ๒  สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๓
      สัมผัสระหว่างบท  คือ คำสุดท้ายของบท  สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ ในบทต่อไป

แผนผัง

ตัวอย่าง
          พระเสด็จโดยแดนชล       ทรงเรือต้นงามเฉิดฉาย
กิ่งแก้วแพร้วพรรณราย                พายอ่อนหยับจับงามงอน
         นาวาแน่นเป็นขนัด           ล้วนรูปสัตว์แสนยากร
เรือริ้วทิวธงสลอน                     สาครลั่นครั่นครื้นฟอง
                                           ( กาพย์เห่เรือเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร )

วันจันทร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

มงคลสูตรคำฉันท์

มงคลสูตรคำฉันท์

           มงคลสูตรคำฉันท์ เป็นพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว 
ซึ่งได้ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ใน ปี พ.ศ. ๒๔๖๖    คำ "มงคล" หมายความถึงเหตุทั้งหลายอันจะทำให้บรรลุถึงความเจริญแห่งสมบัติทั้งปวงหรืออาจแปลให้ง่ายว่า เหตุแห่งความเจริญก้าวหน้า หรือทางก้าวหน้านั่นเอง


           มงคลสูตร เป็นพระสูตรในพระพุทธศาสนา มีที่มาจากพระไตรปิฏก พุทธศาสนิกชนไทยรู้จักกันดี
ในเวลาที่พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ในงานมงคลทั่วไป จะต้องสวดบทมงคลสูตรเสมือนโดยปกติเมื่อพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์มาถึงบทมงคลสูตร องค์ที่เป็นประธานจะเริ่มหยดเทียนลงในขันน้ำพระพุทธมนต์สำหรับใช้พรม เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของสิริมงคลตามคตินิยม ทั้งนี้เพราะเนื้อความในมงคลสูตรกล่าวถึงมงคล ๓๘ ประการ

            รูปแบบคำประพันธ์ แต่งด้วยอินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ และกาพย์ฉบัง ๑๖

เนื้อเรื่อง

            มนุษย์และเทวดา ได้พยายามค้นหาคำตอบว่าอะไรคือมงคลเป็นเวลานานถึง ๑๒ ปีก็ยังไม่ทราบ
ว่ามงคลคืออะไร จนมีเทพองค์หนึ่งเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ณ เชตวันมหาวิหาร เพื่อทูลถามเรื่องนี้
พระพุทธเจ้าจึงทรงแสดงมงคลสูตร ๓๘ ประการด้วยคาถาบาลี ๑๐ คาถา และคาถาสรุป ๑ คาถาชี้ให้เห็นประโยชน์ของการปฏิบัติตามมงคล ๓๘ ประการ

มงคล ๓๘ ประการ มีตามลำดับ ดังนี้



๑. ไม่คบคนพาล

๒. คบบัณฑิต

๓. บูชาผู้ที่ควรบูชา
๔. อยู่ในประเทศอันสมควร 

๕. เคยทำบุญไว้กาลก่อน

๖. ตั้งตนไว้ชอบ
๗. สดับตรับฟังมาก 

๘. มีศิลปะ

๙. มีวินัย
๑๐.มีวาจาเป็นสุภาษิต 

๑๑.บำรุงบิดามารดา

๑๒.สงเคราะห์บุตร
๑๓.สงเคราะห์ภรรยา 

๑๔.การงานไม่คั่งค้างอากูล

๑๕.ให้ทาน
๑๖.ประพฤติธรรม 

๑๗.สงเคราะห์ญาติ

๑๘.ประกอบการงานที่ไม่มีโทษ
๑๙.เว้นจากบาป 

๒๐.สำรวมจากการดื่มน้ำเมา

๒๑.ไม่ประมาทในธรรม
๒๒.เคารพ 

๒๓.การเจียมตัว

๒๔.ยินดีด้วยของตน (สันโดษ)
๒๕.รู้คุณท่าน 

๒๖.ฟังธรรมตามกาล

๒๗.อดทน
๒๘.ว่าง่าย 

๒๙.เห็นสมณะ

๓๐.สนทนาธรรมตามกาล
๓๑.บำเพ็ญตบะ 

๓๒.ประพฤติพรหมจรรย์

๓๓.เห็นอริยสัจ
๓๔.ทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน 

๓๕.จิตไม่หวั่นไหว

๓๖.จิตไม่เศร้าโศก
๓๗.จิตปราศจากธุลี 

วันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

หัวใจชายหนุ่ม



ผู้แต่ง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

เกี่ยวกับผู้ทรงพระราชนิพนธ์

-         เป็นบทพระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ ๖ ทรงใช้นามปากกาว่า รามจิตติ

-         ทรงเป็นโอรสของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระนามเดิม คือ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ

-         ทรงได้รับสามัญญา ว่า พระมหาธีระราชเจ้า แปลว่า นักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่

-         ทรงคัดเลือกจดหมายฉบับที่น่าอ่าน ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ดุสิตสมิต ซึ่งเป็นหนังสือพืมพ์รายสัปดาห์

ลักษณะการแต่ง บันเทิงคดี โดยใช้การเขียนจดหมายเล่าเรื่องเป็นตอนๆต่อเนื่องกันไป เป็นจด ๑๘ ฉบับ

เรื่องย่อ นาย ประพันธ์เป็นนักเรียนนอกเรียนจบจากอังกฤษ มีความนิยมวัฒนธรรมผรั่ง ชื่นชมผู้หญิงสมัยใหม่จนได้แต่งงานกับผู้หญิงทันสมัย ที่ขาดคุณสมบัติขิงภรรยาที่ดี ชีวิตประสบอุปสรรคแต่ในที่สุดปัญหาต่างๆก็คลี่คลายไป